วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559
บทที่ 5 บทความสารคดีที่นำมาใช้สำหรับการเขียนโครงงาน
Evolution
ความหมายของการเกิดสปีชีส์
สปีชีส์ (Species) หมายถึง กลุ่มหรือประชากรของสิ่งมีชีวิตที่มีกลุ่มยีน (gene pool) ร่วมกัน โดยที่ สมาชิกของประชากรนั้น สามารถถ่ายทอดยีนหรือทำให้เกิดยีนโฟล์วระหว่างกันและกันได้ (หมายถึง ผสมพันธุ์กันได้และมีลูกไม่เป็นหมัน) สปีชีส์ในความหมายนี้เรียกว่า biological species
กระบวนการเกิดสปีชีส์ (Speciation) หมายถึงการเกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงที่สะสมทีละเล็กทีละน้อยของสปีชีส์ดั้งเดิมตามกาลเวลา
สปีชีส์ (Species) หมายถึง กลุ่มหรือประชากรของสิ่งมีชีวิตที่มีกลุ่มยีน (gene pool) ร่วมกัน โดยที่ สมาชิกของประชากรนั้น สามารถถ่ายทอดยีนหรือทำให้เกิดยีนโฟล์วระหว่างกันและกันได้ (หมายถึง ผสมพันธุ์กันได้และมีลูกไม่เป็นหมัน) สปีชีส์ในความหมายนี้เรียกว่า biological species
กระบวนการเกิดสปีชีส์ (Speciation) หมายถึงการเกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงที่สะสมทีละเล็กทีละน้อยของสปีชีส์ดั้งเดิมตามกาลเวลา
https://toknowthyself.files.wordpress.com/2012/11/human-evolution.jpg
แบ่งเป็น 2ประเภท
1.สปีชีส์ทางด้านสัณฐานวิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันในลักษณะทางสัณฐานและโครงสร้างทางกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต
ใช้เป็นแนวคิด ในการศึกษาอนุกรมวิธาน
2.สปีชีส์ทางด้านชีววิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ
ให้กำเนิดลูกที่ไม่เป็นหมันแต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน
ก็อาจให้กำเนิดลูกได้เช่นกันแต่เป็นหมัน
แนวคิดของสปีชีส์ทางด้านชีววิทยาโดยพิจารณาความสามารถในการผสมพันธุ์และให้กำเนิดลูกหลานที่ไม่เป็นหมัน ในธรรมชาติมีสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอยู่ด้วยกันจำนวนมาก กลไกที่แบ่งแยกการสืบพันธุ์มีผลยับยั้งมิให้เกิดการผสมาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือพันธุ์ข้ามสปีชีส์
แนวคิดของสปีชีส์ทางด้านชีววิทยาโดยพิจารณาความสามารถในการผสมพันธุ์และให้กำเนิดลูกหลานที่ไม่เป็นหมัน ในธรรมชาติมีสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอยู่ด้วยกันจำนวนมาก กลไกที่แบ่งแยกการสืบพันธุ์มีผลยับยั้งมิให้เกิดการผสมาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือพันธุ์ข้ามสปีชีส์
2.1. กลไกแบ่งแยกระดับก่อนไซโกต
(prezygotic isolating mechanism) เป็นกลไกป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิสนธิ
อันประกอบด้วยความแตกต่างในเรื่องต่อไปนี้
-
ระยะเวลาผสมพันธุ์ หรือ ฤดูกาลผสมพันธุ์ที่ต่างกัน (temporal
isolation) อาจเป็น
วันฤดูกาลหรือช่วงเวลาของการผสมพันธุ์ ตัวอย่างเช่นแมลงหวี่ Drosophila pseudoobscura มีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ในตอนบ่ายแต่Drosophila
pseudoobscura จะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในตอนเช้า
ทำให้ไมมีโอกาสผสมพันธุ์กันได้
- สภาพนิเวศวิทยาที่แตกต่างกัน (ecological isolation) สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันที่อาศัยในถิ่นที่อยู่ต่างกัน
เช่น กบป่า อาศัยอยู่ในแอ่งน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดเล็ก
ส่วนกบบูลฟรอกอาศัยในหนองน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ที่มีน้ำตลอดปีกบทั้ง 2 สปีชีส์นี้มีลักษณะรูปร่างใกล้เยงกันมาก
แต่อาศัยและผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำที่แตกต่างกันทำให้ไม่มีโอกาสได้จับคู่ผสมพันธุ์กัน
http://www.vcharkarn.com/userfiles/238080/1%20(134).jpg
- พฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แตกต่างกัน (behavioral isolation) เช่น พฤติกรรมในการเกี้ยวพาราสีของนกยูงเพศผู้ ลักษณะการสร้างรังที่แตกต่างกันของนกและการใช้ฟีโรโมนของแมลงเป็นต้น พฤติกรรมต่างๆนี้จะมีผลต่อสัตว์เพศตรงข้ามในสปีชีส์เดียวกันเท่านั้นที่จะจับคู่ผสมพันธุ์กัน
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X11974543/X11974543-19.jpg
-โครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน (mechanical isolation) สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีขนาด ละรูปร่างอวัยวะสืบพันธุ์แตกต่างกันทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้ เช่น โครงสร้างของดอกไม้บางชนิดมีลักษณะสอดคล้ายกับลักษณะของแมลงหรือสัตว์บางชนิด ทำให้แมลงหรือสัตว์นั้นๆ ถ่ายละอองเรญูเฉพาะพืชในสปีชีส์เดียวกันเท่านั้น
-สรีรวิทยาของเซลล์สืบพันธุ์ที่แตกต่างกัน (genetic isolation)เมื่อเซลล์พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันมีโอกาสพบกัน แต่ไม่สามารถปฏิสนธิกันได้ อาจเป็นเพราะอสุจิไม่สามารถอยู่ภายในร่างกายเพศเมียได้หรืออสุจิไม่สามารถสลายสารเคมีที่หุ้มเซลล์ไข่ของสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ได้
-ลูกที่ผสมได้ตายก่อนวัยเจริญพันธุ์
เช่นการผสมพันธุ์กบ (Rana spp.)ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้
-ลูกที่ผสมได้เป็นหมัน เช่น ล่อ เกิดจากการผสมระหว่างม้ากับลา แต่ล่อเป็นหมันไม่สามารถให้กำเนิดลูกรุ่นต่อไปได้
ล่อ
http://www.vcharkarn.com/userfiles/238080/1%20(137).jpg
liger
http://galeri12.uludagsozluk.com/515/liger_916896.jpg
การเกิดสปีชีส์ใหม่
1. การเกิดสปีชีส์ใหม่จากการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์
หรือการแยกแขนงสปีชีส์ตามสภาพภูมิศาสตร์ (Geographical Speciation) การเกิดสปีชีส์แบบนี้เกิดจากการที่ประชากรแยกกันอยู่ตามสภาพภูมิศาสตร์ จนขาดการติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางทางภูมิศาสตร์ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ทะเลทราย หุบเหว หรือ ประชากรอพยพไปอยู่เกาะที่ห่างไกล ทำให้ประชากรย่อยไม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนยีนซึ่งกันและกัน ประกอบกับประชากรแต่ละแห่งต่างก็ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางพันธุกรรม ไปตามทิศทางการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จนทำให้เกิดความแตกต่างทางพันธุกรรมมากขึ้น จนกระทั่งเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการแบบค่อยเป็นค่อยไปอาจใช้เวลาเป็นพันๆ หรือล้านๆ รุ่น
หรือการแยกแขนงสปีชีส์ตามสภาพภูมิศาสตร์ (Geographical Speciation) การเกิดสปีชีส์แบบนี้เกิดจากการที่ประชากรแยกกันอยู่ตามสภาพภูมิศาสตร์ จนขาดการติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางทางภูมิศาสตร์ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ทะเลทราย หุบเหว หรือ ประชากรอพยพไปอยู่เกาะที่ห่างไกล ทำให้ประชากรย่อยไม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนยีนซึ่งกันและกัน ประกอบกับประชากรแต่ละแห่งต่างก็ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางพันธุกรรม ไปตามทิศทางการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จนทำให้เกิดความแตกต่างทางพันธุกรรมมากขึ้น จนกระทั่งเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการแบบค่อยเป็นค่อยไปอาจใช้เวลาเป็นพันๆ หรือล้านๆ รุ่น
ตัวอย่างการเกิดสปีชีส์ใหม่จากการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์
- กระรอก 2
สปีชีส์ ที่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาแกรนด์แคนยอน รัฐอริโซนา
ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกระรอกชนิด Ammospermophilus leucurus. อาศัยอยู่ทางทิศเหนือของหุบเขา ส่วนกระรอกชนิด Ammospermophilus
narrisi. อาศัยอยู่ทางใต้ของหุบเขา ซึ่งกระรอกทั้ง 2 สปีชีส์ มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก นักชีววิทยาเชื่อกันว่ากระรอก 2 สปีชีส์นี้เคยอยู่ในสปีชีส์เดียวกันมาก่อนที่จะเกิดการแยกของแผ่นดิน
http://www.sasipin.com/images/squarrel.jpg
- นกฟินซ์ดาร์วิน (Darwin' s Finches) ที่หมู่เกาะกาลาปากอส
นกฟินซ์บนหมู่เกาะนี้ประกอบด้วย 13 สปีชีส์ กับ อีก 1
สปีชีส์ บนเกาะโคคอส (Cocos) รวมเป็น 14
สปีชีส์ ซึ่งมีขนาดและสีแตกต่างกันเล็กน้อย
แต่มีลักษณะจะงอยปากที่แตกต่างกันเหมาะสำหรับการกินอาหารชนิดต่างๆ
จากการศึกษาของนักปักษีวิทยาคาดว่านกฟินซ์บนแต่ละหมู่เกาะอาจถูกพัดพามากับลมพายุจากทวีปอเมริกาใต้
มาอยู่ตามหมู่เกาะต่างๆ และเกิดการแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรมร่วมกับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
เกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ขึ้น การเกิดสปีชีส์ใหม่ที่วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
เรียกว่า Adaptive Radiation
http://schoolbag.info/biology/living/living.files/image419.jpg
2. การเกิดสปีชีส์ใหม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน
เป็นการเกิดสปีชีส์ใหม่ในถิ่นอาศัยเดียวกับบรรพบุรุษ
โดยมีกลไกมาป้องกันทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้
แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม
การเกิดสปีชีส์ใหม่ลักษณะนี้เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒนาการของพืช เช่น
การเกิดพอลิพลอยดีของพืชในการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซม
พอลิพลอยดี (Polyploidy)
ปกติสิ่งมีชีวิตจะมีโครโมโซม 2 ชุด หรือเรียกว่า ดิพลอยด์ (Diploid,2 n) ถ้าสิ่งมีชีวิตมีโครโมโซมมากกว่า
2 ชุดขึ้นไป เรียกว่า พอลิพลอยดี (Polyploidy) เกิดขึ้นจากความผิดปกติในกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสขณะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในแม่หรือพ่อ
โดยโครโมโซมไม่แยกจากกันเป็นผลให้เซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนโครโมโซม 2 ชุด (2 n) เมื่อเซลล์สืบพันธุ์เกิดการปฎิสนธิจะได้ไซโกตที่มีจำนวนโครโมโซมมากกว่า
2 ชุด เช่น มีโครโมโซม 3 ชุด (3
n) หรือมีโครโมโซม 4 ชุด (4 n) โดยลูกที่เป็นพอลิพลอยดีมีลักษณะพันธุกรรมต่างจากพ่อแม่
ไม่สามารถกลับไปผสมกับพ่อแม่ จึงถือได้ว่าเกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ พอลิพลอยดี
ในพืชเกิดได้ 2 แบบ
1. ออโตพอลิพลอยดี (Autopolyploidy) เป็นการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซมที่เกิดจากพืชสปีชีส์เดียวกัน
โดยมีการแบ่งเซลล์ผิดปกติทำให้ได้ลูกที่มีโครโมโซม 3 เท่า ( 3
n ) หรือ 4 เท่า (4 n )
2. อัลโลพอลิพลอยดี (Allopolyploidy) เป็นการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซมที่มีต้นกำเนิดจากสปีชีส์ต่างกัน แต่ทั้ง 2
สปีชีส์ต่างมีความใกล้เคียงกันทางสายวิวัฒนาการ
- คาร์ปิเชงโก (Karpechenko : พ.ศ. 2471 ได้ทดลองผสมผักกาดแดง หรือ Radish (2 n = 18 ) กับกะหล่ำปลี
(2 n = 18) ปรากฏว่าได้ลูกผสม F 1 เป็นหมัน
เพราะมีเซลล์สืบพันธุ์ผิดปกติ แต่ในบางโอกาส F 1 จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม
(2 n = 18) และเมื่อมาผสมกันจะได้ลูกผสมรุ่น F 2 ซึ่งมีโครโมโซม 4 n = 36 และไม่เป็นหมัน
จึงจัดเป็นสปีชีส์ใหม่
ปรากฏการณ์พอลิพลอยดี มีความสำคัญในการทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้น
นักวิชาการประมาณกันว่า
ครึ่งหนึ่งของพืชดอกที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้เกิดจากการเพิ่มโครโมโซมแบบอัลโลพอลิพลอยดี
และเป็นกลไกที่ทำให้เกิดสปีชีส์ใหม่ภายใน 1-2 ชั่วอายุเท่านั้น
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาวิธีการผสมพันธุ์พืช ให้ได้พอลิพลอยดีที่มีสมบัติและลักษณะตามต้องการ เช่น พอลิพลอยดีเลขคู่ ได้แก่ 4 n , 6 n , 8 n ซึ่งมักได้พืชที่มีผลหรือลำต้นใหญ่กว่าพืชที่เป็นดิพลอยด์ธรรมดา ซึ่งสามารถมีชีวิตและสืบพันธุ์ได้ตามปกติ พอลิพลอยดีเลขคี่ ได้แก่ 3 n , 5 n , 7 n ซึ่งเป็นหมัน เพราะมีปัญหาในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ จึงใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์พืชที่ไม่มีเมล็ด เช่น แตงโม องุ่น กล้วย
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาวิธีการผสมพันธุ์พืช ให้ได้พอลิพลอยดีที่มีสมบัติและลักษณะตามต้องการ เช่น พอลิพลอยดีเลขคู่ ได้แก่ 4 n , 6 n , 8 n ซึ่งมักได้พืชที่มีผลหรือลำต้นใหญ่กว่าพืชที่เป็นดิพลอยด์ธรรมดา ซึ่งสามารถมีชีวิตและสืบพันธุ์ได้ตามปกติ พอลิพลอยดีเลขคี่ ได้แก่ 3 n , 5 n , 7 n ซึ่งเป็นหมัน เพราะมีปัญหาในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ จึงใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์พืชที่ไม่มีเมล็ด เช่น แตงโม องุ่น กล้วย
ข้าวสาลีพันธุ์ผสม
เกิดจากการผสมพันธุ์ข้าวสาลี 3 พันธุ์
ได้ข้าวสาลีพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงและมีลำต้นคงทนแข็งแรง
การพัฒนากับวิวัฒนาการ
1. การดื้อสารฆ่าแมลง ตัวอย่างเช่นการใช้สาร DDT ปราบแมลงศัตรูที่ได้ผลดีมากในระยะแรกเมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันสารดังกล่าวไม่สามารถทำร้ายแมลงหลายร้อยชนิดได้ โดยที่แมลงสามารถสร้างเอนไซม์ย่อยสลายสาร DDT ได้ก่อนที่จะออกฤทธิ์มีผลให้เกิดการดื้อสารดังกล่าว
2. การดื้อยาปฏิชีวนะ เป็นการปรับตัวของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรค หนอง ฝี ปวดท้อง ท้องร่วง อันเนื่องมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย ที่มีต่อยาปฏิชีวนะที่มนุษย์ได้พัฒนาและสังเคราะห์ขึ้นมา อาจมาจากสาเหตุที่เชื้อโรคเหล่านี้ได้รับสารเคมีในตัวยาที่ต่ำกว่าขนาด แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ใหม่ที่สามารถอยู่รอดได้
1. การดื้อสารฆ่าแมลง ตัวอย่างเช่นการใช้สาร DDT ปราบแมลงศัตรูที่ได้ผลดีมากในระยะแรกเมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันสารดังกล่าวไม่สามารถทำร้ายแมลงหลายร้อยชนิดได้ โดยที่แมลงสามารถสร้างเอนไซม์ย่อยสลายสาร DDT ได้ก่อนที่จะออกฤทธิ์มีผลให้เกิดการดื้อสารดังกล่าว
2. การดื้อยาปฏิชีวนะ เป็นการปรับตัวของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรค หนอง ฝี ปวดท้อง ท้องร่วง อันเนื่องมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติโดยกลไกทางพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย ที่มีต่อยาปฏิชีวนะที่มนุษย์ได้พัฒนาและสังเคราะห์ขึ้นมา อาจมาจากสาเหตุที่เชื้อโรคเหล่านี้ได้รับสารเคมีในตัวยาที่ต่ำกว่าขนาด แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ใหม่ที่สามารถอยู่รอดได้
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
ใบงานที่4 ข้อสอบพร้อมเฉลย
ข้อสอบคณิตศาสตร์
- PAT
mar 52 (chick)
mar 53 (chick)
oct 52 (chick)
jul 52 (chick)
jul 53 (chick)
mar 54 (chick)
dec 54 (chick)
mar 55 (chick)
oct 55 (chick)
mar 56 (chick)
mar 57 (chick)
apr 57 (chick)
nov 57 (chick)
mar 58 (chick)
oct 58 (chick)
mar 59 (chick)
- ONET
feb 50 (chick)
feb 51 (chick)
feb 52 (chick)
feb 53 (chick)
feb 54 (chick)
feb 56 (chick)
feb 58 (chick)
- กสพท
ชดที่ 2 (chick)
ชุดที่ 1 (chick)
- 7 วิชาสามัญ
ปี 55 (chick)
ปี 56 (chick)
ปี 57 (chick)
ปี 58 (chick)
ปี 59 (chick)
mar 53 (chick)
oct 52 (chick)
jul 52 (chick)
jul 53 (chick)
mar 54 (chick)
dec 54 (chick)
mar 55 (chick)
oct 55 (chick)
mar 56 (chick)
mar 57 (chick)
apr 57 (chick)
nov 57 (chick)
mar 58 (chick)
oct 58 (chick)
mar 59 (chick)
- ONET
feb 50 (chick)
feb 51 (chick)
feb 52 (chick)
feb 53 (chick)
feb 54 (chick)
feb 56 (chick)
feb 58 (chick)
- กสพท
ชดที่ 2 (chick)
ชุดที่ 1 (chick)
- 7 วิชาสามัญ
ปี 55 (chick)
ปี 56 (chick)
ปี 57 (chick)
ปี 58 (chick)
ปี 59 (chick)
ข้อสอบ GAT
ครูสมศรี (เจาะลึกข้อสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ) GAT & 9 วิชาสามัญ O-NET Admission สอบตรง
credit : https://www.youtube.com/watch?v=rM0mH-osoF4
ตื่นมาติว Admission GAT ภาษาอังกฤษ EP.1 - Grammar and Speaking
credit : https://www.youtube.com/watch?v=26zmp15lD3g
AIS One-2-Call! และครูพี่แนน Enconcept ติวฟรี วิชาภาษาอังกฤษ โค้งสุดท้ายก่อนสอบ
credit : https://www.youtube.com/watch?v=5fm3taZoA5w
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ใบงานที่3 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559
ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559
เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559 มีดังนี้
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ…
วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง
พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
ทั้งนี้ ในร่าง
พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า
“พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับ
ซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
มาตรา 4
“ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น
โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์สามารถ
บอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้
อันเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
200,000 บาท”
มาตรา 5
กำหนดว่า ถ้าผู้ใดกระทำผิดใน 5 ประการ ได้แก่
1.การเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน
2.นำมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ
3.ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
4.ดักรับไว้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์
และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และ
5.ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว
ทั้งหมดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี
และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 140,000 บาท ที่สำคัญ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10
ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท
ส่วนเรื่องการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
สร้างความเสียหายให้กับบุคคล
ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ได้มีกระบวนการจัดการกับผู้กระทำความผิดเข้มข้นมากขึ้น
ด้วย
โดนบัญญัติในมาตรา 10
ว่า “ผู้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่นและภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้าง
ขึ้น ตัดต่อ เติม
หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด
โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง
หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน
200,000 บาท”
มาตรา 10
ดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพื่อเพิ่มบทลงโทษให้มากขึ้นโดยให้ผู้กระทำผิดต้องรับ
ทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ จากเดิมที่
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
กำหนดการกระทำความผิดในลักษณะที่ว่านั้นด้วยการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3
ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายที่ ครม.เสนอให้
สนช.พิจารณา ยังได้บัญญัติมาตรการทางศาลเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายด้วย
โดยมาตรา 11 ระบุว่า “ในคดีซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึดและทำลายข้อมูล
(2)
ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่อที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ ตามที่ศาลเห็นสมควร
โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา”
เช่นเดียวกับ มาตรา 20
ที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิ
ทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแต่งตั้ง
ยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่หรือลบข้อมูล
คอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในที่นี้มีด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
(1) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
(2) ข้อมูลที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 ตามประมวลกฎหมายอาญา
(3)
ข้อที่เป็นความผิดอาญาต่อกฎหมายอื่นซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ร้องขอ
และข้อมูลนั้นมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(4)
ข้อมูลที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรืออันดีของประชาชน
ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่รัฐมนตรีมีมติเป็นเอกฉันท์
แก้มาตรา 14(1) ไม่มุ่งเอาผิดกับการหมิ่นประมาท แต่ยังคลุมเครือเปิดช่องตีความได้
พ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 14(1)
มีวัตถุประสงค์มุ่งเอาผิดการทำเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้ามา
ทำธุรกรรมต่างๆ เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ หรือ ที่เรียกว่า
Phishing แต่เนื่องจากกฎหมายเดิมเขียนเอาไว้ว่า “ผู้ใด...
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”
ทำให้มาตรานี้ถูกตีความไปใช้ลงโทษการโพสต์ข้อความในลักษณะหมิ่นประมาทบุคคล
อื่น หรือการใส่ความกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์
และส่งผลสร้างความกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น
หรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์อย่างมาก
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่เผยแพร่เมื่อปี 2558 เคย
เสนอแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขียน มาตรา 14(1) ใหม่เป็น
“ผู้ใดโดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
ทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนสำคัญที่เขียนเข้ามาใหม่ คือ
การโพสต์ข้อมูลต้องมีเจตนาเพื่อ
“ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อมูลส่วนบุคคล”
ทำให้ชัดเจนว่าเป็นการเอาผิดกับการ Phishing
และการหมิ่นประมาทบนโลกออนไลน์ก็จะไม่ผิดตามกฎหมายนี้อีกต่อไป
แต่
ตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ครม. มีมติเห็นชอบล่าสุด
เขียนมาตรา 14(1) ใหม่ว่า "ผู้ใด... โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง
ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน"
ส่วน
ที่เปลี่ยนแปลงไปในร่างฉบับนี้ คือ กำหนดให้ชัดเจนว่าผู้กระทำต้องมีเจตนา
"โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง" ซึ่งคำว่า โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา
หมายความว่า
"เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น"
เห็นได้ว่า ผู้ร่างต้องการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นว่ามาตรา 14(1)
มีวัตถุประสงค์ใช้เอาผิดการกระทำที่มุ่งต่อประโยชน์ทางทรัพย์สิน
ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นออนไลน์ และการกระทำที่จะเป็นความผิดตามมาตรา
14(1) จะต้องมีพฤติการณ์ที่จะสร้างความเสียหายแก่ประชาชน
หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต่างจากมาตรา 14(1) เดิม
ซึ่งการกระทำที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งก็เป็นความผิดได้
อย่าง
ไรก็ดี การเขียนมาตรา 14(1) ตามร่างฉบับนี้
ยังเปิดช่องให้เกิดการตีความนำไปใช้ลงโทษกับการหมิ่นประมาทออนไลน์ได้อยู่
บ้าง โดยอาจมีผู้เข้าใจผิดตีความไปได้ว่า
การโพสต์เนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่เป็นความจริงและทำให้ประชาชนทั่วไป
สับสน เป็นเจตนา "โดยหลอกลวง" และยกเอามาตรา 14(1)
มาใช้ดำเนินคดีกับการแสดงความคิดเห็นต่อไปอีก การเขียนมาตรา 14(1)
ตามร่างฉบับนี้จึงยังเปิดช่องให้กฎหมายถูกใช้อย่างผิดเจตนารมณ์ได้อยู่
ต่างจากร่างฉบับปี 2558 ที่เขียนไว้ค่อนข้างรัดกุมชัดเจนกว่า
ส่วน
บทกำหนดโทษ ตามมาตรา 14(1) ของร่างล่าสุด แบ่งโทษออกเป็นสองระดับ
โดยความผิดฐานนำเข้าข้อมูลปลอมหรือข้อมูลเท็จ
หากมีลักษณะจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนทั่วไปได้ ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5
ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
และหากจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น มาตรา 14 วรรคสอง
เขียนให้มีโทษน้องลง โดยให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000
บาท
เพิ่มความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบ "ความปลอดภัยสาธารณะ" "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ"
จาก เดิมที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) เอาผิดการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ สองลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ 2) น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
ร่างแก้ไข
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้
เพิ่มข้อความขึ้นมาโดยเอาผิดกับการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
สี่ลักษณะ คือ 1) น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ 2)
น่าจะเกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะ 3)
น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และ 4)
น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
"ความ
ปลอดภัยสาธารณะ" และ "ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ"
เป็นคำที่มีความหมายกว้างและเป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยใช้เป็นเงื่อนไขกำหนดการ
กระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษ
ยังไม่มีคำนิยามที่ชัดเจนอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน
การนำคำที่มีความหมายกว้างมาบัญญัติเป็นข้อห้ามลักษณะนี้อาจเป็นการใช้ถ้อย
คำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การคุ้มครองความมั่นคงของระบบไซเบอร์
และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
ซึ่งเป็นนโยบายรวมของการผลักดันกฎหมายชุดความมั่นคงดิจิทัลทั้งระบบ
จึงยังต้องรอดูร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ
ในชุดกฎหมายนี้ที่จะเผยแพร่ตามมาอีกด้วยว่า
มีกฎหมายฉบับใดให้คำนิยามของสองคำนี้ไว้หรือไม่
แอดมินที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจรับผิดเท่าคนโพสต์ เพิ่ม "ขั้นตอนการแจ้งเตือน" ให้ทำตามแล้วพ้นผิด
ตาม มาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ประเด็นความรับผิดของ “ผู้ให้บริการ” เป็นปัญหาใหญ่ เพราะกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า ผู้ให้บริการที่ “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลอยู่ ต้องรับโทษเท่ากับผู้กระทำความผิด ซึ่งเป็นการสร้างภาระทางกฎหมายให้ผู้ดูแลเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเว็บไซต์หลายแห่งจึงยกเลิกบริการพื้นที่แสดงความคิดเห็น อย่าง เว็บบอร์ด หรือการคอมเม้นต์ท้ายข่าว และต้องคอยเซ็นเซอร์เนื้อหาบนโลกออนไลน์โดยการลบข้อความที่อาจจะยังไม่แน่ใจ ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้ แม้จะยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องรับผิดเท่ากับผู้กระทำความผิด แต่ก็เพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาว่า
“มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม
หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 14
ให้รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน
การระงับทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์
และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์
ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ"
จุด
ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงจากร่างเดิมคือพฤติการณ์อันแสดงถึงเจตนาของผู้ให้บริการ
ซึ่งกฎหมายเดิมเอาผิดกับผู้ให้บริการที่ "จงใจสนับสนุนหรือยินยอม"
ส่วนตามร่างฉบับนี้ เอาผิดกับผู้ให้บริการที่ 1) ให้ความร่วมมือ 2) ยินยอม
3) รู้เห็นเป็นใจ
การ "ให้ความร่วมมือ" หรือ
"รู้เห็นเป็นใจ"
อาจต้องชัดเจนว่าผู้ให้บริการมีเจตนากระทำความผิดร่วมกับผู้ที่โพสต์เนื้อหา
ผิดกฎหมายเองด้วย แต่คำว่า "ยินยอม" ยังเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่า
กรณีใดผู้ให้บริการพบเห็นข้อความแล้วแต่มีเจตนาที่จะยินยอมให้อยู่ต่อไป
หรือกรณีใดที่ผู้ให้บริการไม่ได้ยินยอมแต่ทำหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อตรวจ
สอบไม่พบเนื้อหาผิดกฎหมาย
หรือเนื่องจากความผิดพลาดส่วนบุคคลโดยไม่ได้ตั้งใจ
สำหรับ
“ขั้นตอนการแจ้งเตือน” หรือระบบ Notice and Takedown นั้น
เป็นหลักการใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในกฎหมายเดิม
ร่างฉบับนี้ยังไม่ได้เขียนไว้ว่าขั้นตอนการแจ้งเตือนจะเป็นอย่างไรบ้าง
ผู้ให้บริการจะต้องลบออกภายในเวลาเท่าใด
และผู้ให้บริการมีสิทธิอุทธรณ์ได้หรือไม่
ร่างฉบับนี้เพียงกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งเป็นกระทรวงที่จะตั้งขึ้นใหม่ เป็นผู้มีอำนาจกำหนดรายละเอียดต่อไป
จึงต้องขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่จะออกมาในอนาคตอีกด้วยว่าจะสามารถสามารถ
แก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิมได้หรือไม่
เท่าที่ทราบ
จากร่างในปัจจุบัน คือ
ผู้ให้บริการที่ไม่ได้ลบข้อความผิดกฎหมายออกภายในเวลาที่กำหนดยังคงต้องรับ
ผิดในอัตราโทษเท่ากับผู้ผลิตและเผยแพร่ข้อความ
หากผู้ให้บริการจะพ้นผิดได้เป็นภาระของผู้ให้บริการที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาล
เห็นว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนถูกต้องแล้ว
ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล สั่งบล็อคเว็บ "ขัดต่อศีลธรรม" ได้ แม้เนื้อหาไม่ผิดกฎหมายใด
ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับที่ใช้กันอยู่ มาตรา 20 เนื้อหาที่เจ้าหน้าที่นำไปขอหมายศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือการ "บล็อคเว็บ" ได้ ต้องมีลักษณะ คือ เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เกี่ยวกับการก่อการร้าย หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ก่อน
หน้านี้แม้เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
จะตรวจพบเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมายต่างๆ เช่น เว็บไซต์เล่นการพนัน
เว็บไซต์ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ฯลฯ
แต่ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้
เนื่องจากเป็นกระทำความผิดที่อยู่นอกเหนือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
และอยู่นอกเหนืออำนาจของเจ้าพนักงาน
ทำให้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจการปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ได้
ใน
ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับล่าสุด มาตรา 20(3)
จึงกำหนดให้เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
สามารถขอหมายศาลให้บล็อคเว็บที่มีเนื้อหาผิดต่อกฎหมายอื่นได้ด้วย
เมื่อเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นๆ ร้องขอมา เช่น
เมื่อตำรวจในท้องที่ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์เล่นการพนัน
เมื่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต
หรือกรมทรัพย์สินทางปัญญาร้องขอให้ปิดเว็บไซต์ที่ขายของละเมิดลิขสิทธิ์
เป็นต้น
นอกจากนี้ ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
ฉบับนี้ ยังมีมาตรา 20(4)
ที่เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ที่แม้เนื้อหาจะไม่ผิด
กฎหมายใดเลยก็ได้
ถ้าเห็นว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ของประชาชน โดยมาตรา 20(4)
กำหนดให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์
ขึ้นมาเป็นหน่วยงานใหม่ มีกรรมการ 5 คน
โดยสองในห้าคนต้องเป็นตัวแทนภาคเอกชน
หากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ปิดกั้นเนื้อหาใดที่ขัด
ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เจ้าพนักงานก็ดำเนินการขออนุมัติจากศาลให้บล็อคเว็บไซต์ที่มีเนื้อหานั้นๆ
ได้
สุดท้ายแล้วที่กล่าวมาแล้ว ร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับนี้
ยังมีประเด็นใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามา เช่น
การขยายระยะเวลาที่ให้ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานคอมพิวเตอร์
ในกรณีจำเป็นจากไม่เกินหนึ่งปีเป็นสองปี
การมีเงินเพิ่มพิเศษให้สำหรับเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
การเอาผิดกับการเผยแพร่ภาพตัดต่อไปถึงภาพตัดต่อของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว
การเพิ่มโทษฐานส่งสแปมโดยไม่เปิดโอกาสให้บอกเลิก
รวมทั้งการเพิ่มโทษการเจาะระบบหรือทำลายระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ
ความมั่นคงของรัฐด้วย
ใบงานที่2 ความรู้เรื่องblog
บล็อก (Blog)
คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
คำว่า "Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web) นั่นเอง
โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า "บล็อกเกอร์" (Blogger)
จุดเด่นที่สำคัญของ Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้ โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก
Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- ทำBlog เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ เช่น บันทึกไดอารี่- เขียนBlog เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้ หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
- สร้างBlog ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ ร้านค้า บริการต่างๆ
- ใช้Blog ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก Internet Marketing
- เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย "blogspot.com" เช่นJoJho-Problog.blogspot.com
- เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)
- แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
- การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น แต่ Blog เพียงรู้หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย
Blog กับ เว็บไซด์สำเร็จรูป ต่างกันอย่างไร?
- Blog และ เว็บไซด์สำเร็จรูป (Instant Website) เป็นเว็บไซด์ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ที่เรียกว่า เว็บไซด์ในรูปแบบ CMS (Content Management System) คือจะเน้นในการจัดการเนื้อหาและบทความ เป็นหลัก ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมเลย ก็สามารถ สร้างBlog ขึ้นได้โดยวิธีการเข้าใจได้ไม่ยาก- เว็บไซด์สำเร็จรูป มีทั้งแบบ เราสร้างเว็บเอง หรือ ไปขอใช้บริการแบบที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว ซึ่งในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงแต่ เว็บไซด์สำเร็จที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว เพราะจะใกล้เคียงกับบริการของ Blog
- เว็บไซด์สำเร็จรูป ที่นิยม จะเป็นในรูปแบบเปิดร้านค้าออนไลน์ (Online Shopping, Instant Online Store) ซึ่งจะมีระบบที่สนับสนุนกับการทำ E-Commerce รองรับในตัว เช่น ตะกร้าสินค้า, เว็บบอร์ด ในขณะที่ Blog จะไม่มี
- ดังนั้นในการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้น เว็บไซด์สำเร็จรูปจะเหมาะสำหรับ ร้านที่มีสินค้าขายเป็น ชิ้นๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรในระดับหนึ่ง ... ในขณะที่ Blog จะเหมาะสำหรับร้านที่มีสินค้าตั้งขายจำนวนน้อย
- Blog จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นให้บริการเป็นหลัก หรือธุรกิจแบบมีร้านค้าจริงๆ เพื่อแนะนำร้านสถานที่ตั้งร้าน นำเสนอและโปรโมทสินค้าบริการต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่เว็บไซด์สำเร็จรูปแบบร้านค้าออนไลน์นั้นจะเหมาะสำหรับธุรกิจที่ขาย สินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ (Products) ต่างๆมากกว่า Blog
ข้อดีและข้อเสียของ Blog
ข้อดี- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้
- ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)
cr. http://www.jojho.com/2013/05/what-is-blog.html
video
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)